บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

ทานสูตร (อังคุตตรนิกาย > ฉักกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > เทวตาวรรค)

ทานสูตร   (ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  พระเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น  อุบาสิกาชื่อนันทมาตา  ชาวเมือง เวฬุกัณฑกะ  ถวายทักษิณาอันประกอบด้วยองค์  ๖  ในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมาตา   ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นแล้ว  จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย   อุบาสิกาชื่อนันทมาตา  ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น   ถวายทานอันประกอบด้วยองค์  ๖   ในหมู่ภิกษุมีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประธาน ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์  ๖  เป็นอย่างไร   คือ ฝ่ายทายก (ผู้ให้)  มีองค์  ๓  ประการ ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ)  มีองค์  ๓  ประการ องค์  ๓  ประการของทายก   อะไรบ้าง  คือ ทายกในธรรมวินัยนี้ ๑. ก่อนให้  ก็มีใจดี ๒. กำลังให้  ก็ทำจิตให้เลื่อมใส ๓. ครั้นให้แล้ว  ก็มีใจเบิกบาน นี้คือองค์  ๓  ประการของทายก องค์  ๓  ประการของปฏิคาหก  อะไรบ้าง  คือ ปฏิคาหกในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ  หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ  หรือปฏิบัติเพื่อกำจั

อาทิตตสูตร (สังยุตตนิกาย > สคาถวรรค > เทวตาสังยุต > อาทิตตวรรค)

อาทิตตสูตร   (ว่าด้วยผลของการให้) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  พระเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป  เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก  เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ถวายอภิวาท  แล้วยืนอยู่  ณ  ที่สมควร  ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า        "เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไป  ย่อมถูกไฟไหม้  ฉันใด        โลกถูกชราและมรณะเผาแล้ว  ก็ฉันนั้น ควรนำออกด้วยการให้ทาน เพราะทานที่บุคคลให้แล้ว  ชื่อว่านำออกดีแล้ว        ทานที่บุคคลให้แล้วนั้น  ย่อมมีผลคือความสุข ที่ยังมิได้ให้  ย่อมไม่มีผลอย่างนั้น โจรยังปล้นเอาไปได้  พระราชายังริบเอาไปได้ ไฟยังไหม้ได้  หรือสูญหายไปได้        อนึ่ง  บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งของเครื่องอาศัย เพราะการตายจากไป ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว  ควรใช้สอย  และให้ทาน ครั้นให้ทานและใช้สอยตามควรแล้ว  จะไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานที่อันเป็นแดนสวรรค์"

ทานมหัปผลสูตร (อังคุตตรนิกาย > สัตตกนิบาต > มหายัญญวรรค)

ทานมหัปผลสูตร   (ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี  เขตกรุงจัมปา ครั้งนั้นแล  อุบาสกชาวกรุงจัมปาจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่  อภิวาท  แล้วนั่ง  ณ  ที่สมควร  ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ  เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคผ่านมานานแล้ว  ขอให้เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคด้วยเถิด" ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า  "ผู้มีอายุทั้งหลาย  ถ้าเช่นนั้น  ท่านทั้งหลายควรมาในวันอุโบสถเถิด  จะได้ฟังธรรมีกถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคแน่นอน" อุบาสกชาวกรุงจัมปารับคำ  แล้วลุกจากที่นั่ง  อภิวาท  ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นถึงวันอุโบสถ  อุบาสกชาวกรุงจัมปาได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่  อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่  ณ  ที่สมควร ต่อจากนั้น  ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวกรุงจัมปาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ถวายอภิวาท  แล้วนั่ง  ณ  ที่สมควร  ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  มีได้ไหม  ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบา

มัลลิกาสูตร (สังยุตตนิกาย > สคาถวรรค > โกสลสังยุต > ปฐมวรรค)

มัลลิกาสูตร   (ว่าด้วยเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี) ปิยตรสูตร   (ว่าด้วยการไม่มีผู้อื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  พระเชตวัน  อารามขอ งอนาถ บิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาเทวี ประทับอยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ครั้งนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสกับพระนาง มัลลิกาเทวีดังนี้ ว่ า "มัลลิกา  ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม" พระนางมัลลิกาเทวีได้กราบทูลว่า "ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระ บาท  ใครอื่น ซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อนฉันไม่มีเลย และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของ พระองค์มีอยู่หรือ" พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า  "มัลลิกา  ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเรา ไม่มีเลย" ต่อมา  พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ   ถวายอภิวาท  แล้วประทับนั่ง  ณ  ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้  ข้าพระองค์อยู่ที่ปราสาท อันประเสริฐชั้นบน กับพระนางมัลลิกาเทวี ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว

ทุจจริตวิปากสูตร (อังคุตตรนิกาย > อัฏฐกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > ทานวรรค)

ทุจจริตวิปากสูตร   (ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต) พระผู้มีพระภาค ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)   ที่บุคคลเสพ  เจริญ  ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด  ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีอายุน้อยแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ อทินนาทาน (การลักทรัพย์)  ที่ บุคคลเสพ  เจริญ  ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด  ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อมจากโภคทรัพย์แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)  ที่ บุคคลเสพ  เจริญ  ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด  ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวร แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ มุสาวาท (การพูดเท็จ)  ที่ บุคคลเสพ  เจริญ  ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำน

สีลสูตร (อังคุตตรนิกาย > ปัญจกนิบาต > ปัญจมปัณณาสก์ > อักโกสกวรรค)

สีลสูตร   (ว่าด้วยศีล) พระผู้มีพระภาค ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ  มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ   อะไรบ้าง  คือ ๑. บุคคลผู้ทุศีล  มีศีลวิบัติในธรรมวินัยนี้  ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นอันมาก  ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๒. กิตติศัทพ์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล  มีศีลวิบัติ  ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการที่ ๒ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๓. บุคคลผู้ทุศีล  มีศีลวิบัติ  จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ  จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม  พราหมณบริษัทก็ตาม  คหบดีบริษัทก็ตาม  สมณบริษัทก็ตาม  ย่อมไม่แกล้วกล้า  เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๔. บุคคลผู้ทุศีล  มีศีลวิบัติ  ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ๕. บุคคลผู้ทุศีล  มีศีลวิบัติ  หลังจากตายแล้ว  ย่อมไปเกิดในอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ ภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ  มีโทษ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้

วิปัตติสัมปทาสูตร (อังคุตตรนิกาย > ติกนิบาต > ตติยปัณณาสก์ > อาปายิกวรรค)

วิปัตติสัมปทาสูตร   (ว่าด้วยวิบัติและสัมปทา) พระผู้มีพระภาค ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย  วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ  อะไรบ้าง  คือ ๑. สีลวิบัติ  (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. จิตตวิบัติ  (ความวิบัติแห่งจิต) ๓. ทิฏฐิวิบัติ  (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) สีลวิบัติ  เป็นอย่างไร คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า  สีลวิบัติ จิตตวิบัติ  เป็นอย่างไร คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา  มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า  จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ  เป็นอย่างไร คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ  มีความเห็นวิปริตว่า  'ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล  การเซ่นสรวงไม่มีผล  ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มีคุณ  บิดาไม่มีคุณ  โอปปาติกสัตว์ไม่มี  สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก' นี้เรียกว่า  ทิฏฐิวิบัติ เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ  ส

สัมพหุลกุมารวัตถุ (ขุททกนิกาย > ธรรมบท > ทัณฑวรรค)

สัมพหุลกุมารวัตถุ   (เรื่องเด็กชายหลายคน) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  พระเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี ในเวลาเช้า  พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก  ถือบาตรและจีวร  เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังเอาไม้ตีงูตัวหนึ่ง  จึงตรัสถามว่า   "แน่ะ  พวกเด็กทั้งหลาย  พวกเจ้าทำอะไรกัน" เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า  "พวกข้าพระองค์เอาไม้ตีงู  พระพุทธเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  "เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงกระทำอย่างนั้น" เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า  "พวกข้าพระองค์กลัวมันกัด  พระพุทธเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่าจะทำความสุขสวัสดีให้แก่ตน แต่เพราะการตีงูนั้นเป็นเหตุ  พวกเจ้าจะไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่ที่ตนเกิดแล้ว แท้จริง  บุคคลเมื่อปรารถนาสุขแก่ตน  แต่กลับทำร้ายสัตว์อื่น  ย่อมไม่ควร" จากนั้น  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปอีกว่า        " สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย  เป็นผู้ใคร่สุข บุคคลใดแสวงหาสุขเพื่อตน  แต่เบียดเบียนสัตว์อื่น บุคคลนั้น

เวฬุทวาเรยยสูตร (สังยุตตนิกาย > มหาวารวรรค > โสตาปัตติสังยุต > เวฬุทวารวรรค)

เวฬุทวาเรยยสูตร   (ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  เสด็จถึงหมูบ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ พวกพราหมณ์และคหบดี ชาวเวฬุทวารคามได้ฟังข่าวว่า "พระสมณโคดมเป็นศากยบุตร  เสด็จออกผนวช จากศากยตระกู ล  เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  เส ด็จ ถึงเวฬุทวารคามโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า 'แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ  เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ   เสด็จไปดี  รู้แจ้งโลก  เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นพระ พุทธเจ้า   เป็นพระผู้มีพระภาค' พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก   พรหมโลก  และหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณพราหมณ์  เทวดา  และมนุษย์  ด้วยพระองค์เอง   แล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม  ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น  มีความ งามในท่ามกลาง  มีความงามในที่สุด  และทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ  บริสุทธิ์  บริบูร ณ์

โภชนสูตร (อังคุตตรนิกาย > ปัญจกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > สุมนวรรค)

โภชนสูตร   (ว่าด้วยการให้โภชนะ) พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ  ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก (ผู้รับ) ฐานะ ๕ ประการอะไรบ้าง  คือ ๑.  อายุ ๒.  วรรณะ ๓.  สุข ๔.  พละ ๕.  ปฏิภาณ ครั้นให้อายุแล้ว  ย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์  หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว  ย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์  หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว  ย่อมมีส่วนได้สุขอันเป็นทิพย์  หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว  ย่อมมีส่วนได้พละอันเป็นทิพย์  หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว  ย่อมมีส่วนได้ปฏิภาณอันเป็นทิพย์  หรือเป็นของมนุษย์ ภิกษุทั้งหลาย  ทายกผู้ให้โภชนะ  ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการนี้แล" พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสเนื้อความนี้แล้ว  ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า         "นักปราชญ์ผู้มีปัญญา  ให้อายุ  ย่อมได้อายุ ให้พละ  ย่อมได้พละ ให้วรรณะ  ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณ  ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข  ย่อมได้สุข        ครั้นให้อายุ  พละ  วรรณะ  สุขะ  และปฏิภาณแล้ว จะเกิดในที่ใดๆ  ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน  มียศ  ในที่นั้นๆ" โภชนสูตร  จบ