บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

สีหเสนาปติสูตร (อังคุตตรนิกาย > ปัญจกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > สุมนวรรค)

สีหเสนาปติสูตร   (ว่าด้วยสีหเสนาบดี) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา  ป่ามหาวัน  เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล  สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร  ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า "พระพุทธเจ้าข้า  พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม" พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า  "ได้  สีหะ"  แล้วได้ตรัสต่อไปว่า  "สีหะ ๑. ทายก  ทานบดี  ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก  ทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๓. กิตติศัพท์อันงามของทายก  ทานบดี  ย่อมขจรไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔. ทายก  ทานบดี  จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ  จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม  พราหมณบริษัทก็ตาม  คหบดีบริษัทก็ตาม  สมณบริษัทก็ตาม  ก็เป็นผู้แกล้วกล้า  ไม่เก้อเขิน  เข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๕. ทายก  ทานบดี  หลังจากตายแล้ว  จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองในภพหน้า" (ทายก  ในที่

นามสิทธิชาดก (ขุททกนิกาย > ชาดก > เอกกนิบาต > ลิตตวรรค)

นามสิทธิชาดก   (ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ) พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า "เพราะเห็นคนชื่อเป็นอยู่  ได้ตายไป หญิงชื่อมีทรัพย์  กลับตกยาก และคนชื่อชำนาญทาง  กลับหลงทางในป่า เจ้าปาปกะจึงกลับมา" นามสิทธิชาดก  จบ อรรถกถา พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภภิกษุผู้หวังความสำเร็จโดยชื่อรูปหนึ่ง  จึงได้ตรัสเรื่องนี้ ได้ยินว่า  กุลบุตรผู้หนึ่งโดยนาม  ชื่อว่า  'ปาปกะ'  บวชถวายชีวิตในพระศาสนา เมื่อถูกพวกภิกษุด้วยกันเรียกว่า  "มาเถิด  อาวุโสปาปกะ  หยุดเถิด  อาวุโสปาปกะ" เขาคิดว่า  "ในโลก  ผู้ที่มีชื่อว่า  ปาปกะ  เขากล่าวกันว่าลามก  เป็นตัวกาลกิณี  เราต้องให้พระอุปัชฌาย์อาจารย์หาชื่อที่ประกอบไปด้วยมงคลอย่างอื่น" เขาเข้าไปหาอุปัชฌาย์อาจารย์  กราบเรียนว่า  "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ชื่อของผมเป็นอัปมงคล  กรุณาตั้งชื่ออย่างอื่นให้กระผมเถิด" ครั้งนั้น  อาจารย์และอุปัชฌาย์ก็กล่าวกับเธออย่างนี้ว่า  "ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน  ขึ้นชื่อว่าความสำเร็จประโยชน์ไรๆ  มิได้มีเพราะชื่อเลย  เธอจงพอใจชื่อของตนนั้นเถิด"

การตอบแทนที่ทำได้ยาก (อังคุตตรนิกาย > ทุกนิบาต > ตติยปัณณาสก์ > สมจิตตวรรค)

การตอบแทนที่ทำได้ยาก พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย  การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสอง  เราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย ท่านทั้งสองคือใคร  คือ  มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ ๑๐๐ ปี  มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี  ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง  ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึง  ปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น  การนวด  การให้อาบน้ำ  และการบีบนวด  และแม้ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ  หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึงบุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มีรัตนะ  ๗  ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ  หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะมาก  บำรุงเลี้ยง  แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใด กระทำมารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา  ให้ท่านสมาทาน  ตั้งมั่น  ดำรงอยู่ในสัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ได้ กระทำมารดาและบิดาผู้ทุศีล  ให้ท่านสมาทาน  ตั้งมั่น  ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศี

กัจจานิชาดก (ขุททกนิกาย > ชาดก > อัฏฐกนิบาต > กัจจานิวรรค)

กัจจานิชาดก   (ว่าด้วยนางกัจจานี) ท้าวสักกะ (แปลงเป็นพราหมณ์) ตรัสถามนางกัจจานีว่า  "แม่กัจจานี  เจ้านุ่งห่มผ้าขาวสะอาด  มีผมเปียกชุ่ม  ยกหม้อขึ้นตั้งบนเตา  ซาวข้าวสารและงาป่น  ข้าวสุกคลุกงาจักมีไว้เพื่อเหตุอะไร" นางกัจจานีตอบว่า  "พราหมณ์  ข้าวสุกคลุกงาที่สุกดีแล้ว  จักมีไว้เพื่อเป็นอาหารสำหรับตนเองก็หามิได้  แต่เพราะธรรมะได้ตายแล้ว  วันนี้  ข้าพเจ้าจักทำบุญอุทิศให้ธรรมะกลางป่าช้านี้" ท้าวสักกะตรัสว่า  "แม่กัจจานี  เจ้าจงใคร่ครวญแล้วจึงทำ  ใครหนอบอกเจ้าว่าธรรมะได้ตายแล้ว  ท้าวสหัสนัยน์ผู้มีอานุภาพล้นบอกไว้ว่าธรรมะอันประเสริฐย่อมไม่ตายในกาลไหนๆ" นางกัจจานีกล่าวว่า  "พราหมณ์  ข้าพเจ้ามั่นใจในข้อนี้ว่าธรรมะได้ตายแล้ว  ข้าพเจ้าไม่มีความสงสัย  เพราะเดี๋ยวนี้  คนชั่วกลับเป็นอยู่สบาย  เหมือนอย่างลูกสะใภ้ของข้าพเจ้าเป็นหมัน  หล่อนทุบตีขับไล่ข้าพเจ้า  บัดนี้นางกลับได้บุตรแล้ว  เดี๋ยวนี้นางเป็นใหญ่ในตระกูลทั้งหมด  ส่วนข้าพเจ้ากลับถูกทอดทิ้งอยู่อย่างเดียวดาย" ท้าวสักกะตรัสว่า  "เรายังมีชีวิตอยู่  ยังไม่ตาย  เรามาที่นี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้า

อิฏฐธัมมสูตร (อังคุตตรนิกาย > ทสกนิบาต > ทุติยปัณณาสก์ > อากังขวรรค)

อิฏฐธัมมสูตร   (ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา) พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุท้ั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย  ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ธรรม ๑๐ ประการอะไรบ้าง  คือ ๑.  โภคสมบัติ   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๒.  ผิวพรรณ   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๓.  ความไม่มีโรค   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๔.  ศีล   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๕.  พรหมจรรย์   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๖.  มิตร   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๗.  ความเป็นพหูสูต   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๘.  ปัญญา   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๙.  ธรรม (โลกุตตรธรรม)   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ๑๐.  สวรรค์   เป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจ  หาได้ยากในโลก ภิกษุทั้งหลาย  ธรรม ๑๐ ประการนี้แลเป็นธรรมที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่า

สพรหมกสูตร (อังคุตตรนิกาย > ทุกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > เทวทูตวรรค)

สพรหมกสูตร   (ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม) พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาในเรือนตน  สกุลนั้นชื่อว่ามี   พรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาในเรือนตน  สกุลนั้นชื่อว่ามี   บุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาในเรือนตน  สกุลนั้นชื่อว่ามี   บุรพเทพ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาในเรือนตน  สกุลนั้นชื่อว่ามี   อาหุไนยบุคคล คำว่า   พรหม  นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า   บุรพาจารย์  นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า   บุรพเทพ  นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า   อาหุไนยบุคคล  นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก  บำรุงเลี้ยง  แสดงโลกนี้แก่บุตร" พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสเนื้อความนี้แล้ว  ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า "มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา ท่านเรียกว่าพรหม  บุรพาจารย์  และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น  บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะมารดาบิดานั้น ด้วยข้าว  น้ำ  ผ้า  ที่นอน  การอบกลิ่น  การให้อาบน้ำ  และการล้างเท้า เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาตายไปแล