บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ธนัญชานิสูตร (มัชฌิมนิกาย > มัชฌิมปัณณาสก์ > พราหมณวรรค)

ธนัญชานิ สูตร   (ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อธนัญชานิ) สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่  ณ  พระเวฬุวัน  สถานที่ให้เหยื่อกระแต   เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล  ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ครั้งนั้น  ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์  ได้เข้าไป หาท่านพระสารีบุตรถึงทักขิณาคีรีชนบท  ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ  พอเป็นที่ ระลึกถึงกัน  แล้วนั่ง  ณ  ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า "ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีภาคไม่ทรงประชวร   และยังทรงมีพระกำลังอยู่หรือ" ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า "ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประชวร  และยัง ทรงมีพระกำลังอยู่  ขอรับ" "ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ" "แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่  ขอรับ" "พราหมณ์ชื่อธนัญชานิอยู่ใกล้ประตูตัณฑุลปาลิ  ใน กรุงราชคฤห์นั้น เขาไม่ ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ" "แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่  ขอรับ" "ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาท (ไม่ประพฤติอธรรม) อยู่หรื

ปัพพชิตอภิณหสูตร (อังคุตตรนิกาย > ทสกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > อักโกสวรรค)

ปัพพชิตอภิณห สูตร   (ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้  บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ธรรม ๑๐ ประการ   อะไรบ้าง  คือ บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำอยู่หรือไม่ ๔. เราติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่ ๕. เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่ ๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗. เรามีกรรมเป็นของตน  เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด  มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์  มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้  จะเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม  ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๘. วันคืนล่วงไป ๆ  บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙. เรายินดียิ่งในเรือนว่างอยู่หรือไม่ ๑๐. ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ (หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐ  สามารถกำจัดกิเลสได้) อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ (หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)  ที่เราบรรลุแล้ว   ซึ่งจักเป็นเหตุให้เราไ

นิทานสูตร (อังคุตตรนิกาย > ทุกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > เทวทูตวรรค)

นิทานสูตร   (ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม) สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า [ เหตุให้เกิดอกุศลกรรม ] " ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ   อะไรบ้าง  คือ ๑. โลภะ (ความอยากได้)   เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)   เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. โมหะ (ความหลง)   เป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ  เกิดจากโลภะ  มีโลภะเป็นเหตุ  มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน  ในลำดับที่เกิด  หรือในระยะต่อไป กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ  เกิดจากโทสะ  มีโทสะเป็นเหตุ  มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน  ในลำดับที่เกิด  หรือในระยะต่อไป กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ  เกิดจากโมหะ  มีโมหะเป็นเหตุ  มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน  ในลำดับที่เกิด  หรือในระยะต่อไป เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก  ไม่เสียหาย  ไม่ถ

มตกภัตตชาดก (ขุททกนิกาย > ชาดก > เอกกนิบาต > สีลวรรค)

มตกภัตตชาดก   (ว่าด้วย การฆ่าสัตว์ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ) รุกขเทวดาโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนว่า        " ถ้าเหล่าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า การเกิดและสมภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก " มตกภัตตชาดก  จบ อรรถกถา พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ  พระเชตวันมหาวิหาร   ทรงปรารภมตกภัต  จึงได้ตรัสเรื่องนี้ ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายฆ่าแพะเป็นต้นเป็น อันมากให้มตกภัตอุทิศญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายเห็นมนุษย์ เหล่านั้นกระทำอย่างนั้น  จึงทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้   มนุษย์ทั้งหลายทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วให้ทานชื่อว่า มตกภัต ความเจริญในการให้มตกภัตนี้มีอยู่หรือ  พระพุทธเจ้าข้า" พระศาสดาตรัส ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความเจริญอะไร ๆ ในปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)  แม้ที่เขากระทำ ด้วยคิดว่า  'พวกเราจักให้ทานมตกภัต'  ดังนี้  ย่อมไม่มี แม้ในกาลก่อน  เทวดาผู้เป็นบัณฑิตได้ นั่งในอากาศ แสดงธรรมกล่าวโทษในการทำปาณาติบาตนี้  ให้ชนชาว ชมพูทวีปทั้งสิ้นละกรรมนั้น แต่บัดนี้  กรรมน

กาลทานสูตร (อังคุตตรนิกาย > ปัญจกนิบาต > ปฐมปัณณาสก์ > สุมนวรรค)

กาลทานสูตร   (ว่าด้วยกาลทาน) สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย   กาลทาน ๕ ประการนี้ (กาลทาน  หมายถึงยุตตทาน  คือการให้ที่เหมาะสม) กาลทาน ๕ ประการ   อะไรบ้าง  คือ ๑. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๒. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๓. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้ ๔. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก ๕. ให้ข้าวอย่างดี  และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ภิกษุทั้งหลาย  กาลทาน ๕ ประการนี้แล " จากนั้น  พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า         "ผู้มีปัญญา  รู้ความประสงค์ของผู้ขอ เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้        ทานที่ให้ในพระอริยะผู้ซื่อตรง  ผู้คงที่ ย่อมเป็นทักษิณาที่ไพบูลย์ ทำให้เขามีใจผ่องใส        ชนเหล่าใดอนุโมทนาหรือขวนขวายในทักษิณานั้น เพราะการอนุโมทนาหรือขวนขวายของชนเหล่านั้น ทักษิณาย่อมมีผลไม่พร่อง แม้พวกเขาก็เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ        เพราะฉะนั้น  ผู้มีจิตไม่ท้อถอย จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า" กาลทานสูตร  จบ บทความที่เกี่ยวข้อง ๑. ตัวอย่างที่ดีจากนางวิสาขา