ปุพพัณหสูตร (อังคุตตรนิกาย > ติกนิบาต > ตติยปัณณาสก์ > มังคลวรรค)


ปุพพัณหสูตร  (ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น)

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริตในเวลาเช้า  เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริตในเวลาเที่ยง  เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริตในเวลาเย็น  เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น"

จากนั้น  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
       "สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี  มงคลดี  สว่างดี  รุ่งดี
ขณะดี  ยามดี  และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา (*)
วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
       ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว
จงได้รับความสุข  งอกงามในพุทธศาสนา
จงไม่มีโรค  ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล"
(*ส่วนเบื้องขวา  ในที่นี้หมายถึงความเจริญหรือพฤติกรรมฝ่ายดี)

ปุพพัณหสูตร  จบ



บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พยสนสูตร (อังคุตตรนิกาย > ปัญจกนิบาต > ตติยปัณณาสก์ > คิลานวรรค)

กาลียักขินีวัตถุ (ขุททกนิกาย > ธรรมบท > ยมกวรรค)

ปฏาจาราเถรีวัตถุ (ขุททกนิกาย > ธรรมบท > สหัสสวรรค)